หมวดตัวอักษร R-Z

 

 คำศัพท์

สิ่งแวดล้อม (Eng)

 คำศัพท์

สิ่งแวดล้อม (Thai)

ความหมาย
 Rain Shadow  พื้นที่อับฝนหรือเงาฝน  บริเวณที่อยู่ด้านหลังภูเขาหรือทิวเขา ซึ่งมีฝนตกน้อยกว่าบริเวณด้านหน้าซึ่งเป็นด้านรับลม หรือพื้นที่ทางด้านปลายลมซึ่งมีค่าปริมาณฝนเฉลี่ยน้อยกว่าพื้นที่ทางด้านต้นลมเนื่องจากมีสิ่งกีดขวางทางธรรมชาติเช่น มียอดเขาสูงกั้นขวางทิศทางลมที่พาเอาฝนมาตก

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Rock Land พื้นที่หินโผล่  ชั้นหิน (bedrock) ที่โผล่พ้นผิวดินขึ้นมา บางแห่งถูกปกคลุมด้วยตะกอนพื้นผิว เช่น ตะกอนน้ำพา หรือพวกพืชพรรณต่าง ๆ ทำให้ไม่สามารถเห็นหินโผล่ได้ชัดเจน อย่างไรก็ตามตะกอนที่คลุมชั้นหินโผล่นี้มักถูกกัดกร่อน โดยจะโผล่ให้เห็นได้ง่ายตามบริเวณที่มีอัตราการผุพังสูง เช่น ไหล่เขาที่มีความชัน ขอบฝั่งแม่น้ำ หรือบริเวณที่มีการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลก นอกจากนี้ยังเกิดจากการกระทำของมนุษย์เช่นกัน เช่น การขุดถมสร้างถนน

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
Rock Salt
เกลือหิน
ทรัพยากรแร่ตามธรรมชาติชนิดหนึ่งที่เกิดจากการตกตะกอนของน้ำทะเล เกลือหินที่พบในประเทศ

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 

Rock Outcrop
หินโผล่
ชั้นหิน (bedrock) ที่โผล่พ้นผิวดินขึ้นมา บางแห่งถูกปกคลุมด้วยตะกอนพื้นผิว เช่น ตะกอนน้ำพา หรือพวกพืชพรรณต่าง ๆ ทำให้ไม่สามารถเห็นหินโผล่ได้ชัดเจน อย่างไรก็ตามตะกอนที่คลุมชั้นหินโผล่นี้มักถูกกัดกร่อน โดยจะโผล่ให้เห็นได้ง่ายตามบริเวณที่มีอัตราการผุพังสูง เช่น ไหล่เขาที่มีความชัน ขอบฝั่งแม่น้ำ หรือบริเวณที่มีการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลก นอกจากนี้ยังเกิดจากการกระทำของมนุษย์เช่นกัน เช่น การขุดถมสร้างถนน

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 

Residual Deposits
แหล่งแร่จากการผุพังอยู่กับที่
หินเปลือกโลกที่ผุพังอยู่กับที่ (Weathering) แร่ที่อยู่ในหินบางชนิดละลายน้ำได้ก็จะละลายไป ส่วนที่ไม่ละลายหรือทนทานต่อการผุพังก็จะคงเหลืออยู่ และสะสมกันมากขึ้นจนเกิดเป็นแหล่งแร่มีค่าทางเศรษฐกิจได้ เช่น แหล่งแร่แมงกานีส แร่บ๊อกไซท์ ในบริเวณบางแห่งนอกจากหิน จะผุพังแล้วยังถูกพาไปจากแหล่งเดิมและสะสมกันในท้องธารน้ำ หรือหุบเขา เกิดเป็นแหล่งลานแร่ แหล่งลานแร่ที่สมบูรณ์ มักพบว่าต้นกำเนิดอยู่ใกล้ ๆ นั่นเอง เช่น แหล่งแร่ดีบุก แร่ทองขาว เพชร เป็นต้น

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 

Rapid Zone
เขตน้ำไหลเชี่ยว
เป็นบริเวณที่มีความตื้น มีกระแสน้ำไหลแรง ก้นลำธารใส ไม่การสะสมของตะกอน เหมาะสำหรับการดำรงชีวิตของพวกสิ่งมีวิตหน้าดินที่เกาะติดวัตถุใต้น้ำ หรือ คืบคลานไปมาไดเสะดวก สิ่งมีชีวิตที่ลอยที่ผิวน้ำในเขตนี้ต้องเข้มแข็ง สามารถว่ายทวนกระแสน้ำได้ พวกแพลงก์ตอนจะไม่พบเลยเนื่องจากถูกกระแสน้ำพัดพาไปที่อื่น บริเวณดังกล่าว คือ บริเวณน้ำตกและบริเวณลำธาร

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 

Red Tide
ปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬ
red tide เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดจาก การเพิ่มจำนวนประชากร อย่างมหาศาล ของสาหร่ายเซลล์เดียวในทะเล หรือที่รู้จักกันดีว่าคือ algae bloom จำนวนประชากรของสาหร่ายเซลล์เดียวที่มากมาย ทำให้เห็นน้ำทะเลเป็นสีแดง

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 

Reproduction cutting   การตัดฟันเพื่อการสืบพันธุ์  การตัดฟันไม้เพื่อให้มีการสืบพันธุ์ขึ้นทดแทน เป็นการตัดฟันเอาไม้เก่าแก่ออกไป และเป็นการทำให้สภาพแวดล้อมเหมาะสมสำหรับการสืบพันธุ์ การตัดฟันเพื่อการสืบพันธุ์อาจกระทำครั้งเดียวหรือหลายครั้งก็ได้ ระยะของการสืบพันธุ์จึงอาจเป็นเพียงปีเดียว หรือ 5 ปี หรือมากกว่าก็ได้ ซึ่งก็แล้วแต่วิธีการตัดฟันเพื่อการสืบพันธุ์ 

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Rangeland Resources  ทรัพยากรทุ่งหญ้า  ทรัพยากรที่อาจจะมีการทดแทนและบำรุงรักษาได้ เนื่องจากมนุษย์สามารถจะรักษาระดับความอุดมสมบูรณ์ และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตของพื้นที่ได้ เช่น ทรัพยากรทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ เป็นทรัพยากรที่สำคัญอย่างหนึ่งที่ก่อ ให้เกิดการผลิตในรูปของเนื้อสัตว์ 

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Reforestation  การปลูกสร้างสวนป่า  การปลูกสร้างสวนป่าในบริเวณที่เคยเป็นป่ามา ก่อน แต่ป่านั้นถูกแผ้วถาง ทำลาย จนกลายเป็นป่าเสื่อมโทรม

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Reforestation Administration  การบริหารงานสวนป่า  การดำเนินงานในด้านการปลูกสร้างสวนป่าให้เป็น ไปตามนโยบาย ซึ่งผู้เป็นเจ้าของสวนป่าได้กำหนดขึ้นไว้ เพื่อให้ได้วัตถุประสงค์ตามที่ต้องการ 

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Reducing Emission from Deforestation and Forest Degradation (REDD)  การลดก๊าซเรือนกระจกจากการทำลายป่าและความเสื่อมโทรมของป่าในประเทศกำลังพัฒนา  นโยบายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการทำลายป่าและความเสื่อมโทรมของป่าในประเทศพัฒนา ซึ่งเป็ฯส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อนภายใต้อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Reduce  การลดปริมาณ  การลดการใช้ทรัพยากรให้เหลือแต่เท่าที่จำเป็น และการช่วยกันลดการบริโภค เพื่อไม่ให้เกิดขยะและของเสียจำนวนมากอย่างที่เป็นอยู่

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Rotation  ระบบหมุนเวียน  ช่วงระยะเวลาที่ต้นไม้แต่ละชนิดใช้เจริญเติบโต นับตั้งแต่เริ่มงอกไปจนโตถึงขนาดตัดฟันได้

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Reuse  การใช้ซ้ำ  การนำวัสดุหรือบรรจุภัณฑ์สินค้าประเภทต่างๆ เช่น กระดาษ แก้ว โลหะและพลาสติก ที่ยังใช้ประโยชน์ได้กลับมาใช้คุ้มค่าที่สุด เพราะ “การใช้ครั้งเดียว”ทำให้เกิดขยะมากเกินจำเป็น แลสูญเสียทรัพยากรในการผลิตวัสดุเหล่านี้ซ้ำเพื่อใช้เพิ่มเติมอีกด้วย

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Recycle  รีไซเคิล  การแปรรูปหรือแปรสภาพสิ่งของที่ใช้ไม่ได้แล้วและจำเป็นจะต้องทิ้ง ให้สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ เช่นกระป๋องบรรจุน้ำอัดลม แก้วน้ำพลาสติก ที่ความจริงเราใช้ระยะเวลา ในการดื่มเพียงเล็กน้อย ซึ่งในการผลิตโดยเฉพาะอย่างยิ่งกระป๋องน้ำอัดลมนั้น ในแต่ละใบต้องใช้พลังงาน ในการผลิตอย่างมากมายมหาศาล แต่ส่วนที่เหลือจากการใช้กลับกลายเป็นขยะกองโตที่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อ สิ่งแวดล้อม หากในโรงเรียนซึ่งส่วนใหญ่จะมีขยะประเภทนี้อยู่มากจะได้เล็งเห็นความสำคัญ ด้วยการ แยกประเภทของขยะ นอกจากจะมีรายได้จากการจำหน่ายขยะเหล่านั้นยังจะมีส่วนช่วยให้เกิดการแปรรูป ผลิตภัณฑ์เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ นั่นก็หมายถึงการประหยัดทรัพยากรธรรมชาติของประเทศและของโลกได้อีกมากโข

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Refuse  การปฎิเสธหรือหรือเลี่ยงการบรรจุภัณฑ์ที่สร้างปัญหา  การปฎิเสธหรือหลีกเลี่ยงสิ่งของหรือบรรจุภัณฑ์ ที่สร้างปัญหาขยะรวมทั้งเป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Refill  เลือกใช้สินค้าเติม  การเลือกใช้สินค้าชนิดเดิม ซึ่งใช้การบรรจุภัณฑ์น้อยชิ้นและก็ทำให้ขยะก็น้อยลงด้วย

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Repair  การซ่อมแซมเครื่องใช้ให้ใช้ประโยชน์ได้  การซ่อมแซมเครื่องใช้ให้สามารถใช้ประโยนช์ได้ต่อไป ไม่ให้กลายเป็นขยะ

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Return  เลือกสิ้นค้าทิ้งคืนกลับผู้ผลิต  การเลือกใช้สินค้าที่สามารถส่งคืนบรรจุภัณฑ์ กลับสู่การผลิตได้ เช่น ขวดเครื่องดื่มประเภทต่างๆ

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Rethink  การคิดใหม่  “การคิดใหม่หรือการพิจารณาใหม่ต่อแผนงาน ความคิดและระบบทั้งหลายเพื่อเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงแผนงาน ความคิดหรือระบบนั้น

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Rotterdam Convention  อนุสัญญารอคเตอร์ดัม  เป็นอนุสัญญาระหว่างประเทศในการควบคุมการนำเข้าและการส่งออกสารเคมีอันตรายต้องห้ามหรือจำกัดการใช้อย่างเข้มงวดและสูตรผสมของสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ที่เป็นอันตรายอย่างร้ายแรง 

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Reverse Osmosis System  รีเวอร์สออสโมซิส  ระบบ Reversr osmosis(RO) เป็นระบบกรองน้ำซึ่งจะทำให้น้ำที่ได้มา ค่อนข้างมีความบริสุทธิ์สูง จนแทบจะเรียกว่า ไม่มีสารอะไรตกค้างอยู่เลยนอกจากน้ำเปล่าๆเท่านั้น หรือแทบจะเรียกว่ามีคุณภาพเทียบเท่าน้ำกลั่นทีเดียว ซึ่งคุณภาพนี้ ก็ขึ้นกับว่า แผ่นกรองที่นำมาใช้มีประสิทธิภาพยังไง ถ้าแผ่นกรองที่ใช้มีสภาพดี มีรูพรุนขนาดเล็ก(เชื้อจุลินทรีย์ผ่านไม่ได้) และมีการดูแลอย่างดี ก็จะให้น้ำสะอาดที่สามารถใช้บริโภคได้

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Raw waterRaw water  น้ำดิบ  แหล่งน้ำดิบ(Raw Water)ที่จะนำมาผลิตเป็นน้ำประปาเพื่อบริการแก่ประชาชนนั้น ได้มีการจำแนกชนิดของแหล่งน้ำดิบที่นำมาใช้ตามลักษณะของคุณภาพของแหล่งน้ำ ดิบออก ได้เป็น
(1)น้ำที่ไม่ต้องผ่านขบวนการปรับปรุงคุณภาพ (Water requiring no treatment) น้ำชนิดนี้เป็นน้ำที่จัดว่าสะอาด ใช้อุปโภคบริโภคได้เลย ได้แก่น้ำบาดาล ซึ่งไม่ถูกปนเปื้อน
(2)น้ำที่ต้องผ่านขั้นตอนการฆ่าเชื้อโรคเท่านั้น (Water requiring disinfection only) น้ำประเภทนี้จัดว่าเป็นน้ำที่ใส และค่อนข้างจะสะอาด ได้แก่น้ำบาดาล และน้ำผิวดินซึ่งปนเปื้อนเล็กน้อย มีค่า เอ็มพีเอ็น (MPN) ของโคไลฟอร์มแบคทีเรียไม่เกิน 50 ต่อน้ำ 100 มิลลิลิตรของแต่ละเดือน ยกตัวอย่างเป็นต้น

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Stabilization  ปรับเสถียร  เป็นระบบบำบัดน้ำเสียที่อาศัยธรรมชาติในการบำบัดสารอินทรีย์ในน้ำเสีย ซึ่งแบ่งตามลักษณะการทำงานได้ 3 รูปแบบ คือ บ่อแอนแอโรบิค (Anaerobic Pond) บ่อแฟคคัลเททีฟ (Facultative Pond) บ่อแอโรบิค (Aerobic Pond) และหากมีบ่อหลายบ่อต่อเนื่องกัน บ่อสุดท้ายจะทำหน้าที่เป็นบ่อบ่ม (Maturation Pond) เพื่อปรับปรุงคุณภาพน้ำทิ้งก่อนระบายออกสู่สิ่งแวดล้อม

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Septic Tank  บ่อเกรอะ  ระบบบ่อเกรอะ (Septic Tank) บ่อเกรอะมีลักษณะเป็นบ่อปิด ซึ่งน้ำซึมไม่ได้และไม่มีการเติมอากาศ ดังนั้นสภาวะในบ่อจึงเป็นแบบไร้อากาศ (Anaerobic) โดยทั่วไปมักใช้สำหรับการบำบัดน้ำเสียจากส้วม แต่จะใช้บำบัดน้ำเสียจากครัวหรือน้ำเสียอื่นๆ ด้วยก็ได้ 
ถ้าหากสิ่งที่ไหลเข้ามาในบ่อเกรอะมีแต่อุจจาระหรือสารอินทรีย์ที่ย่อย ง่าย หลังการย่อยแล้ว ก็จะกลายเป็น ก๊าซกับน้ำและ กากตะกอน (Septage) ในปริมาณที่น้อยจึงทำให้บ่อไม่เต็มได้ง่าย (อัตราการเกิดกากตะกอนประมาณ 1 ลิตร/คน/วัน) แต่อาจต้องมีการสูบกากตะกอนในบ่อเกรอะ (Septage) ออกเป็นครั้งคราว (ประมาณปีละหนึ่งครั้ง สำหรับ บ่อเกรอะ มาตรฐาน) แต่ถ้าหากมีการทิ้งสิ่งที่ย่อย หรือ สลายยาก เช่น พลาสติก ผ้าอนามัย กระดาษชำระ สิ่งเหล่านี้ จะยังคงค้างอยู่ในบ่อและทำให้บ่อเต็มก่อนเวลาอันสมควร เพื่อให้บ่อเกรอะสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Sanitary wastewater  น้ำเสียในชุมชน  น้ำเสียชุมชน 
น้ำเสียจากแหล่งชุมชน, ดู Domestic Wastewater (Domestic Wastewater หมายถึง น้ำเสียที่ได้จากที่อยู่อาศัย อาคารธุรกิจ สถาบันและอื่นๆ อาจรวมหรือ ไม่รวมน้ำบาดาล น้ำผิวดิน น้ำฝนที่รั่วซึมเข้ามาในท่อระบาย เรียกอีกอย่างว่า sanitary wastewater

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Sewage Gas  ก๊าชน้ำเสีย  ก๊าซซึ่งเกิดจากการย่อยสลายของสารอินทรีย์ใน น้ำเสีย ก๊าซซึ่งเกิดในถังย่อยสลัดจ์ 

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Sludge  ของแข็งที่ได้จากการแยกออกจากของเสีย  สลัดจ์ (sludge) หมายถึง ของแข็งที่แยกออกจากน้ำเสียหรือของแข็งส่วนเกินที่ได้จากการปรับปรุงคุณภาพน้ำด้วยกระบวนการทางชีวภาพหรือทางเคมี ดังนั้น ลักษณะทางกายภาพและทางเคมี รวมถึงปริมาณของสลัดจ์ขึ้นอยู่กับกระบวนการปรับปรุงคุณภาพน้ำโดยตรง

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Surface Aerator  เครื่องเติมอากาศผิวน้ำ  เป็นเครื่องเติมอากาศในแนวตั้ง มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใบพัดที่ใหญ่ จะทำการตีน้ำพร้อมทั้งกวนและดึงน้ำ จากด้านล่างขึ้นมาเพื่อสัมผัสอากาศ จึงทำให้เกิดการกวนอย่างสมบูรณ์ ไม่เกิดจุดอับอากาศ สามารถใช้งานได้ดีกับบ่อที่มีขนาดใหญ่และค่อนข้างลึก 

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Sack System  ระบบถุงขยะ  ระบบถังเก็บขยะที่ประกอบด้วยถุงพลาสติก หรือถุงกระดาษที่สามารถ ดึงออกจากถังเพื่อนำไปทิ้ง

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 soot  เขม่า  เป็นสสารเกิดจากการเผาไหม้อย่างไม่สมบูรณ์ 
หรือ เกิดขึ้นจากการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ของเชื้อเพลิงประเภทฟอสซิล เป็นเศษเหลือตกค้างและยึดเกาะกันอยู่ภายในช่องเผาไหม้

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
Snow storm   พายุหิมะ  พายุหิมะ (snow storm) และ พายุน้ำแข็ง (ice storm) เป็นสิ่งที่เกิดในฤดูหนาวเหมือนกัน แต่เราพบพายุหิมะได้บ่อยกว่ามาก กลไกการเกิดแตกต่างกันคือ
พายุหิมะเกิดจากการที่ไอน้ำในอากาศควบแน่นเป็น เกล็ดน้ำแข็งเล็ก ๆ จนมีน้ำหนักมากพอก็จะตกลงสู่พื้นดินในสภาพเกล็ดน้ำแข็ง ในขณะที่พายุน้ำแข็งนั้น ไอน้ำควบแน่นเป็นน้ำ ซึ่งอยู่ในภาวะ supercooled คือเป็นน้ำที่อุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง แล้วตกลงสู่พื้นดินในสภาพน้ำ เมื่อน้ำนี้ตกลงสู่พื้นดินก็จะแข็งตัวเป็นน้ำแข็งปกคลุมทุกสิ่งทุกอย่าง เพราะฉะนั้นแทนที่พื้นดิน ต้นไม้ สายไฟ จะปกคลุมด้วยเกล็ดหิมะซึ่งความหนาแน่นต่ำ น้ำหนักก็น้อย กวาดออกก็ง่าย มันก็จะถูกปกคลุมด้วยน้ำแข็งซึ่งมีความหนาแน่นสูงกว่า หนักกว่า และกวาดไม่ออก ด้วยเหตุนี้พายุน้ำแข็งจึงเป็นอะไรที่อันตรายมาก ขับรถก็ไม่ได้เพราะถนนเป็นน้ำแข็ง สายไฟก็อาจขาดเพราะน้ำหนักของน้ำแข็งที่เคลือบอยู่ อะไรแบบเนี้ย
อุณหภูมิที่เกิดไม่่ต่างกันเท่าไรครับ คืออุณหภูมิพื้นผิวต้องต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Saline soil  ดินเค็ม  ดินเค็ม(Saline Soil) หมายถึง ดินที่มีปริมาณเกลือที่ละลายอยู่ในสารละลายดินมากเกินไป มีกระทบต่อการ เจริญเติบโต ปริมาณและคุณภาพของผลผลิต ซึ่งอาจรุนแรงถึงทาให้พืชตายได้ เนื่องจากเกิดความไม่สมดุลของธาตุอาหาร พืช พืชเกิดอาการขาดน้ำ และมีการสะสมไอออนที่เป็นพิษในพืชมากเกินไป 

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Salinity  ความเค็ม  ค่าที่ใช้บอกถึงความเข้มข้นของเกลือในน้ำทะเลตามบริเวณต่าง ๆ ของมหาสมุทร 

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Salinization  กระบวนการสะสมเกลือในดิน  เป็นกระบวนการที่เกิดการสะสมสารจำพวกเกลือบริเวณผิวดิน มักจะพบมากในพื้นที่ที่มีเกลือเป็นส่วนประกอบของน้ำใต้ดิน และมีสภาพอากาศร้อนมาก ดินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Salt Marsh  ที่ลุ่มน้ำเค็ม  เกิดจากการที่กระแสน้ำขึ้นและกระแสน้ำลงพัดเอาตะกอนละเอียดที่เป็นพวกทราย ทรายแป้ง และดินเหนียวไปปะปนกับกระแสน้ำในรูปของตะกอนแขวนลอย โดยตะกอนเหล่านี้จะเกิดจากการกษัยการของน้ำขึ้นน้ำลง เมื่อมีน้ำจืดไหลลงมาผสมจะช่วยเร่งให้ตะกอนเหล่านั้นรวมตัวกันเป็นก้อนใหญ่และตกจมลงในบริเวณพื้นล่างของอ่าวหรือปากแม่น้ำ อันเป็นผลทำให้อ่าวหรือปากแม่น้ำตื้นเขินลง นอกจากนั้นตะกอนดังกล่าวยังมีอินทรีย์วัตถุปะปนอยู่เป็นจำนวนมาก จนเกิดเป็น “ที่ราบลุ่มชายเลน” (Mudflat) หรือที่ลุ่มราบน้ำขึ้นถึง (Tidal Marsh) บริเวณดังกล่าวในช่วงเวลาน้ำขึ้นน้ำทะเลจะไหลบ่าขึ้นมาท่วม แต่ระดับน้ำจะลึกไม่มากนัก และมีพืชน้ำเค็มเจริญเติบโต พืชเหล่านี้จะมีส่วนช่วยในการดักจับตะกอนที่กระแสน้ำพัดพามา ซึ่งจะทำให้ระดับของที่ลุ่มราบชายเลนสูงขึ้นเท่ากับระดับน้ำทะเลที่ขึ้นสูงสุดในบริเวณนั้น และต่อมากลายเป็นพรุน้ำเค็ม (Salt Marsh) 

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
Sand   ทราย ดินทรายเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ของแร่ธาตุในดินต่ำ มีความเป็นกรด อุ้มน้ำน้อย รากพืชหรือต้นไม้แผ่ขยายชอนไชเพื่อหาอาหารมาเลี้ยงลำต้นได้น้อย ทำให้พืชที่ปลูกในพื้นที่นี้ไม่เจริญงอกงามตามที่ควร

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Sedimentary Rock  หินตะกอน ,หินชั้น  หินตะกอน (อังกฤษ: sedimentary rock) คือ หินที่เกิดจากการตกตะกอนของเม็ดแร่ที่ได้จากการผุพังของหินชนิดใดก็ได้ที่ผิวโลก และถูกพัดพาไปโดย น้ำ ลม หรือธารน้ำแข็ง แล้วจับตัวกันแข็งเป็นหิน หรือ เกิดจากการตกตะกอนทางเคมีของสารละลายจากในน้ำ ในลำธาร ทะเล หรือมหาสมุทร เนื่องจากปฏิกิริยาทางเคมีหรือการระเหยของน้ำ ที่อุณหภูมิปกติบนผิวโลก ลักษณะเด่นของหินตะกอน คือ การเกิดเป็นชั้น อาจมีซากดึกดำบรรพ์ หรือแสดงลักษณะโครงสร้างของการตกตะกอนตามลำดับอายุ

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา
 Shale  หินดินดาน  เป็นหินตะกอนเนื้อเม็ด (clastic sedimentary rock) ที่มีเนื้อละเอียดมาก ขนาดตะกอนภายในหินดินดานจะมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า มีองค์ประกอบของโคลนที่มีแร่ดิน (clay minerals) ปนกับเศษแร่ที่มีขนาดทรายแป้ง โดยเฉพาะแร่ควอร์ตซ์ และแร่แคลไซต์ โดยจะมีสัดส่วนองค์ประกอบของแร่ที่แปรเปลี่ยนไปอย่างกว้างขวาง

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา
 Sheet Erosion  การกร่อนแบบผิวแผ่น  การกัดเซาะชนิดหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นในลักษณะที่ผิวหน้าของวัตถุกัดเซาะหลุดออกมาเป็นผืน โดยลมหรือน้ำ

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Shifting cultivation  การทำไรเลื่อนลอย  หมายถึง การเกษตรในรูปแบบที่มีการ ตัด โคนเผา 
ต้นไม้ในป่าปฐมภูมิ (primary forest) แล้วทำการเพาะปลกในพื่นที่อยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่งตั้งแต่ 1 ปี
ขึ้นไปหรือทำการเกษตรซ้ำพื้นที่เดิมจนดินที่ใช้ปลูกพืชเสื่อมความอุดมสมบรูณ์ อันเนื่องมาจากการ
พังทลายของดินหรอจากการใช้ประโยชนของพืชเอง และมีปัญหาเกี่ยวกับวัชพืช โรค และแมลง
ศัตรูพืช ทำให้ผลผลิตต่อพื้นที่ลดลง ไม่คุ้มกับการลงทุน จึงเลิกใช้พื้นที่นั่นแล้วทำการตัดฟันต้นไม้
ในป่าปฐมภูมิแห่งใหม่ที่มีความเหมาะสมกับการปลูกพืชแต่ละชนิด

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Silt  ทรายแป้ง  สามารถมองเห็นด้วยกล้องจุลทรรศน์ธรรมดามีลักษณะอ่อนนุ่นคล้ายแป้งผัดหน้า มีความเหนียวเล็กน้อย ยึดติดกับอนุภาคอื่นได้เล็กน้อย ปั้นเป็นรูปต่าง ๆ ได้_ซึ่งประกอบด้วยแร่ ควอตซ์ และ เฟลด์สปาร์ เป็นส่วนใหญ่ และมีแร่ดินเหนียวปริมาณเล็กน้อย 

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Sinkhole  หลุมยุบ  หลุมยุบเป็นปรากฎการณ์ธรรมชาติอย่างหนึ่งที่ดินยุบตัวลงเป็นหลุมลึก มีรูปร่างและขนาดต่างๆกัน เช่น รูปเกือบกลมหรือเป็นวงรี ( พจนานุกรม ศัพท์ธรณีวิทยา , 2544) มีน้ำขังอยู่ก้นหลุม ภายหลังน้ำใต้ดินจะกัดเซาะและนำพาดินที่อยู่ก้นหลุมไป ทำให้หลุมยุบลึกขึ้น ส่วนปากหลุมก็จะพังอยู่ตลอดจนกระทั่งจะเสถียร

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Stream Erosion  การกัดกร่อนโดยธารน้ำ  เกิดตามธารน้ำธรรมชาติที่มีน้ำตลอดปี ทำให้ดินแตกกระจายและชะแร่ธาตุจากสองฝั่งไป เนื่องจากความแรงของกระแสน้ำ

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Soil Aeration  การถ่ายเทอากาศของดิน  การถ่ายเทอากาศในดิน หมายถึง การถ่ายคาร์บอนไดออกไซด์จากดิน ออกไปสู่บรรยากาศและทดแทนออกซิเจนในดิน ด้วยออกซิเจนจากบรรยากาศ
กระบวนการที่สำคัญ ที่เป็นหลักในการถ่ายเทอากาศคือ การแพร่ (Diffusion) ของก๊าซ องค์ประกอบของอากาศในดิน
และอากาศในบรรยากาศเหนือดิน เนื่องจากมีปริมาณองค์ประกอบของก๊าซแตกต่างกัน ส่วนการเคลื่อนที่ของก๊าซทุกชนิด ในลักษณะเป็นกลุ่มก้อน (Mass flow) เกิดได้บ้างเล็กน้อยตามผิวดิน เมื่อลดการพัดพาหรือการหอบไป และการพัดเข้ามาแทนที่ใหม่

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา
 Soil Alkalinity  ความเป็นด่างของดิน  ดินที่มีปฏิกิริยาทางเคมีเป็นด่าง มีความเป็นกรดเป็นด่างมากกว่า 7

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Soil Category  อันดับของการจำแนกดิน  การจําแนกดินในระดับอันดับ (order) ใช้ลักษณะและคุณสมบัติต่างๆ ของดินที่ เป็นลักษณะ เด่นชัดอย่างกว้างๆ ที่เป็นผลมาจากปัจจัยการเกิดดินและการสร้างดิน เช่น สภาพภูมิอากาศ ชนิดของ วัตถุต้นกําเนิดดิน ระยะเวลาที่เกิดดินหรือการพัฒนาเปลี่ยนแปลงชั้นดิน เป็นต้น การจําแนกในระดับ อันดับจะต้องทําตามขั้นตอนตามข้อกําหนด ของคู่มือระบบอนุกรมวิธานดินปี 2541 โดยพิจารณา ลักษณะและคุณสมบัติของดินเรียงตามอันดับ

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Soil Characteristic  ลักษณะของดิน  อนุภาคของดินจะรวมตัวกันเข้าเกิดเป็นเม็ดดิน อนุภาคเหล่านี้จะมีขนาดไม่เท่ากัน ขนาดเล็กที่สุดคืออนุภาคดินเหนียว อนุภาคขนาดกลางเรียกอนุภาคทรายแป้ง อนุภาคขนาดใหญ่เรียกว่า อนุภาคทรายเนื้อดิน จะมีอนุภาคทั้ง 3 กลุ่มนี้ผสมกันอยู่ในสัดส่วนที่ไม่เท่ากันทำให้เกิดลักษณะของดิน 3 ชนิดใหญ่ ๆ คือ ดินเหนียว ดินทราย และดินร่วน

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Soil Classification  การจำแนกดิน  การจำแนกประเภทของดินระบบ Unified Soil Classification อาศัยข้อมูลพื้นฐานในการ. จำแนกคล้ายๆกัน คือ การกระจายและขนาดของเม็ดดิน, ค่า Atterberg's limits เป็นต้น

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
Soil Conservation   การอนุรักษ์ดิน  การใช้ทรัพยากรอย่างฉลาด โดยการป้องกันและการรักษา รวมทั้ง การปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์และความสามารถในการให้ผลผลิตของดิน รวมทั้ง การหาพื้นที่ใหม่ทดแทนเพื่อยืดอายุการใช้ให้ยาวนานต่อไปอีก

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Soil Fauna  สัตว์ในดิน  ดินเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิด มีทั้งขนาดใหญ่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า ไปจนถึงขนาดเล็กมากต้องใช้กล้องจุลทรรศน์กำลังขยายสูงส่องดูจึงจะมองเห็น สิ่งมีชีวิตเหล่านี้มีทั้งชนิดที่เป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของพืช

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Soil Fertility  ความอุดมสมบรูณ์ของดิน  ความอุดมสมบูรณ์ของดิน หมายถึง ความสามารถของดินในการปลดปล่อยธาตุอาหารรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืชได้ครบทุก ธาตุในปริมาณที่เพียงพอและสมดุลกันตามที่พืชต้องการ การประเมินระดับความอุดมสมบูรณ์ของดินคือ วิธีการที่จะทำให้ทราบว่าระดับธาตุอาหารพืชในดินมีปริมาณเท่าใดและเพียงพอ กับความต้องการของพืชหรือไม่

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
Soil Flora   พืชในดิน

 

 

 Soil Genesis  วิชาว่าด้วยการกำเนิดดิน  ดินเป็นวัตถุธรรมชาติ ที่เกิดขึ้นบนพื้นผิวโลก เกิดจากการสลายตัวผุพัง (Weathering) ของหินและแร่ ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเปลือกโลก ผสมคลุกเคล้ากับอินทรียวัตถุ ใช้เวลาในการสร้างเปลี่ยนแปลงเป็นระยะเวลายาวนาน จนกลายเป็นดิน ระยะเวลาในการสลายตัวของวัตถุต้นกำเนิดเพื่อสร้างดินนั้นช้าหรือเร็ว ขึ้นกับปัจจัยในการควบคุมการสร้างตัวของดิน

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Soil Horizon  ช่วงชั้นดิน  ชั้นดินที่แบ่งออกเป็นชั้น ๆ ตามสมบัติและลักษณะเพื่อประโยชน์ในการศึกษาเกี่ยวกับการจำแนกประเภทของดิน และการกำเนิดของดิน ในทางปฐพีวิทยา

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Soil Management  การจัดการดิน

 

 

 Soil Microorganism  จุลินทรีย์ดิน  จุลินทรีย์ในดิน ดินเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของจุลินทรีย์มากมายหลายชนิด ประกอบไปด้วย แบคทีเรีย รา เชื้อแอคติโนมัยสีท สาหร่าย โปรโตซัว และไวรัส นอกจากนี้แล้วในดินยังมีสัตว์หน้าดิน และแมลงหน้าดินต่างๆ สิ่งมีชีวิตเหล่านี้มีความสัมพันธุ์กันในระบบนิเวศของดิน ส่วนใหญ่แล้วดินเกิดจากการสลายตัวและผุพังของแร่หินต่างๆ โดยอิทธิพลจากธรรมชาติ เช่นความร้อน ความเย็น กระแสน้ำ และการทับถมของซากสิ่งมีชีวิตที่เน่าเปื่อยผุพัง ซึ่งเป็นผลมาจากกิจกรรมของจุลินทรีย์ในดิน จุลินทรีย์เหล่านี้จึงมีบทบาทสำคัญในการเกิดความอุดมสมบูรณ์ของดิน จำนวนของจุลินทรีย์ในดินขึ้นอยู่กับอาหารทีมีประโยชน์ในดิน ความชื้น ค่าความเป็นกรด-ด่าง และ อุณหภูมิของสิ่งแวดล้อมในดิน

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Soil Mineralogy  วิชาว่าด้วยแร่ของดิน  การศึกษาที่ว่าด้วยการบรรยายและอธิบายเกี่ยวกับสิ่งที่ธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติกับทางสังคมที่ปรากฏอยู่ในดินแดนต่างๆของโลก ภูมิศาสตร์แร่ (mineral geography) คือ วิชาที่ศึกษาแร่และหินในภูมิภาคต่างๆของโลก 

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Soil Morphology  สัณฐานวิทยาของดิน  เป็นวิชาที่ศึกษาว่าด้วยโครงสร้างของดินที่มีลักษณะแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่การศึกษารูปพรรณสัณฐาน

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Soil Organism  อินทรีย์ในดิน  อินทรีย์วัตถุ คือสิ่งที่ได้จากการย่อยสลายของสารอนินทรีย์ ซึ่งอยู่ในรูปหลายขั้นตอน คือตั้งแต่อยู่ในรูปเดิม หรือเปลี่ยนแปลงแต่ยังจำรูปเดิมได้ จนถึงมีการเปลี่ยนแปลงจากรูปเดิมโดยสมบูรณ์ ถ้าจะให้เข้าใจง่ายๆ อินทรีย์วัตถุ คือสิ่งที่ได้จากการย่อยสลายตัวของซากพืช ซากสัตว์ และเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร โดยการกระทำของจุลินทรีย์ เมื่อย่อยสลายจนถึงขั้นสุดจะได้สารฮิวมัส ซึ่งเป็นสารอินทรีย์เป็นส่วนหนึ่งของอินทรีย์วัตถุในดินที่คงตัวมีพื้นที่ผิวสัมผัสสูง ทำให้ดูดซับน้ำได้ดี มีความสามารถในการแลกเปลี่ยนกระแสไฟฟ้าสูง คือดูดยึดธาตุอาหารไว้ได้สูง รวมทั้งได้ธาตุอาหารพืช ทั้งธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง และธาตุอาหารเสริม ถูกปลดปล่อยออกมาสะสมอยู่ในดินที่พืชสามารถนำไปใช้ในการเจริญเติบโตได้

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Soil Particle  อนุภาคของดิน  อนุภาคดินทราย ดินทรายแป้ง และดินเหนียว โดยกำหนด ว่าอนุภาคของ ดินทรายต้องมีเส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่กว่า 0.02 ม ม. ดินทรายแป้งมีเสนผ่าศูนย์กลางระหว่าง 0.02 มม. ถึง 0.002 ซม. และ ดินเหนียวมีเส้นผ่าศูนย์กลางเล็กกว่า 0.002 มม.

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Soil Pollution  มลพิษทางดิน  มลพิษดิน หมายถึงดินที่เสื่อมค่าไปจากเดิม และหรือมีสารมลพิษเกินขีดจำกัดจนเป็นอันตรายต่อสุขภาพ และพลานามัย ตลอดจน การเจริญเติบโตของพืช และสัตว์ ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Soil Productivity  ความสามารถในการผลผลิตของดิน  ความสามารถของดินในการให้ผลผลิตพืช เมื่อปลุก พืชชนิดหนึ่งหรือพืชระบบหนึ่ง ภายใต้ปัจจัยการผลิตที่กำหนดให้ ผลิตภาพดินจึงวัดจากผลผลิตที่ได้ต่อ หน่วยพื้นที่ต่อเวลา เช่น กิโลกรมต่อไรต่อปี

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Soil Series  ชุดดิน  เป็นหน่วยของแผนที่ดินที่กรมพัฒนาที่ดินพัฒนาขึ้นมา โดยการรวมชุดดินที่มีลักษณะ สมบัติ และศักยภาพในการเพาะปลูก รวมถึงการจัดการดินที่คล้ายคลึงกัน มาไว้เป็นกลุ่มเดียวกัน เพื่อประโยชน์ในการให้คำแนะนำ การตรวจสอบลักษณะดิน การใช้ที่ดิน และการจัดการดินที่เหมาะสมให้แก่เกษตรกร และผู้สนใจทั่วไป จากชุดดินกว่า 300 ชุดดิน ได้จัดจำแนกใหม่เป็น 62 กลุ่มชุดดินด้วยกัน และกรมพัฒนาที่ดินได้จัดทำแผนที่กลุ่มชุดดินสำหรับการปลูกพืชเศรษฐกิจรายจังหวัด ทั่วประเทศ มาตราส่วน 1:50,000 ชุดแรกแล้วเสร็จในระหว่างปี พ.ศ. 2530-2534 และมีการพัฒนาปรับปรุงแผนที่ดินอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Soil Structure  โครงสร้างของดิน

 คุณสมบัติทางกายภาพของดิน หมายถึง คุณสมบัติของดินที่เป็นสิ่งซึ่งเราสามารถตรวจสอบได้ด้วยการแลเห็น หรือจับต้องได้ เช่น เนื้อดิน ความโปร่งหรือแน่นทึบของดิน ความสามารถในการอุ้มน้ำของดินและสีของดิน เป็นต้น คุณสมบัติของดินเหล่านี้ บางครั้งเราเรียกว่า คุณสมบัติทางฟิสิกส์ จะขอกล่าวเพียงสองประการเท่านั้น คือ เนื้อดินและโครงสร้างของดิน

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 

 Soil Reaction  ปฏิกิริยาดิน  แสดงได้ด้วยค่าความเป็นกรด - เิบส ของดิน (soil pH) ดินที่มีไฮโดรเจนไอออน (H+) อยู่ในปริมาณสูง จะทำให้ดินมีสภาพเป็นกรด ส่วนดินที่มีธาตุประจุบวกที่เป็นเบส (เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม โพแทสเซียม และโซเดียม) อยู่ในปริมาณสูง จะทำให้ดินมีสภาพเป็นเบสหรือเป็นดินด่าง

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Subbituminous Coal  ถ่านหินชับบิทูมินัส  ถ่านหิน คือ หินตะกอนชนิด หนึ่งที่เกิดจากการตกตะกอนสะสมของซากพืชในยุคดึกดำบรรพ์เป็นเวลายาวนานหลาย ล้านปี จนตะกอนนั้นได้เปลี่ยนสภาพไปและมีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นธาตุคาร์บอน โดยมีธาตุอื่นๆทั้งที่เป็นก๊าซและของเหลวปนอยู่ด้วยในสัดส่วนที่น้อยกว่าและ เป็นแร่เชื้อเพลิงสามารถติดไฟได้ มีสีน้ำตาลอ่อนจนถึงสีดำ มีทั้งชนิดผิวมันและผิวด้าน น้ำหนักเบา ถ่านหินประกอบด้วยธาตุที่สำคัญ 4 อย่างได้แก่ คาร์บอน ไฮโดรเจน ไนโตรเจน และออกซิเจน นอกจากนั้น มีธาตุหรือสารอื่น เช่น กำมะถัน เจือปนเล็กน้อย ถ่านหินที่มีจำนวนคาร์บอนสูงและมีธาตุอื่น ๆ ต่ำ เมื่อนำมาเผาจะให้ความร้อนมาก ถือว่าเป็นถ่านหินคุณภาพดี

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
Submerged Plants   พืชใต้น้ำ  พืชใต้น้ำ พรรณไม้น้ำขนาดใหญ่ที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตา เปล่า และขึ้นใน แหล่งน้ำจืด เป็นพรรณไม้น้ำที่มีส่วนของราก ลำต้น และใบอยู่ใต้น้ำ ทั้งหมด อาจมีรากยึดติดกับพื้นดินใต้น้ำหรือไม่ก็ได้ บางชนิดเมื่อโต เต็มที่ก็จะส่งดอกขึ้นมาเจริญที่ผิวน้ำหรือเหนือน้ำ เช่น สาหร่าย และสันตะวาชนิดต่างๆ

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Sustainable Development  การพัฒนาที่ยั่งยืน  “การตอบสนองความต้องการของคนรุ่นปัจจุบัน โดยไม่มีผลกระทบในทางลบต่อความต้องการของคนรุ่นต่อไปในอนาคต” การพัฒนาที่สามารถดำเนินไปได้อย่างมั่นคง ราบรื่น โดยไม่เกิดสภาพที่ไม่พึงปรารถนาอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการพัฒนานั้นเอง

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Thermo gram  กราฟวัดอุณหภูมิ  เทอร์โมแกรม หรือกราฟวัดอุณหภูมิ กระดาษกราฟ บันทึกค่าอุณหภูมิที่ได้จาก การตรวจวัดบน เครื่องเทอร์โมกราฟ ตามปกติจะบันทึกอุณหภูมิประจำวันหรือ ประจำสัปดาห์ ดู thermograph ประกอบ

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Thermo graph  เครื่องวัดอุณหภูมิแบบกราฟ  เป็นเครื่องวัดอุณหภูมิแบบต่อเนื่องโดยบันทึกค่าลงในกระดาษกราฟ โครงสร้างประกอบด้วยโลหะ 2 ชนิด ที่มีการยืดหดตัวต่างกันนำมาเชื่อมเป็นแผ่นโลหะโค้ง เช่น การใช้แผ่นอินวาร์ และแผ่นทองเหลืองค้าง วางประกบกัน โดยแผ่นทองเหลืองโค้งที่มีการขยายตัวมากกว่าจะวางอยู่ด้านนอก เมื่ออุณหภูมิมีการเปลี่ยนแปลงแผ่นโลหะประกบจะเกิดการขยายตัว หรือหดตัวตามการเพิ่มหรือลดลงของอุณหภูมิ ทำให้โครงสร้างเครื่องที่มีปลายปากกาบันทึกการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิลงบนกราฟ 

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Thermo meter  เครื่องวัดอุณหภูมิ  เอเทอร์โมมิเตอร์ คือ เครื่องมือที่ใช้สำหรับวัดอุณหภูมิ ซึ่งจะประกอบด้วยสองส่วนสำคัญ ได้แก่ ส่วนตรวจวัดอุณหภูมิและส่วนแสดงผลซึ่งจะแปลงผลการวัดออกมาเป็นค่าที่แสดงถึง อุณหภูมิ ของเทอร์โมมิเตอร์นั้นมีหลายชนิด แต่ที่เราคุ้นเคยกันส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเทอร์โมมิเตอร์ที่ประกอบด้วยกระเปาะ ของของเหลวดังรูปด้านบน การสร้างเทอร์มอมิเตอร์แบบนี้นั้นอาศัยคุณสมบัติของการขยายตัวของของเหลว หรือแก๊ส เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น และหดตัวเมื่ออุณหภูมิลดลง 

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Turbulence  กระแสอากาศปั่นป่วน  การไหลของกระแสอากาศมักจะมีการเปลี่ยนแปลงทิศทางหรอความเร็วอย่างต่อเนื่อง ทั่งที่ระดับตาและ ระดับสูงในทุกฤดูกาล ขณะที่กระแสอากาศเกิดจากการกระเพื่อมหรือหมุนวนในบรรยากาศทั่งแนวระดับหรือแนวตั้ง เราเรียกว่า กระแสอากาศปั่นป่วน (Turbulence)

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Thunderstorm  ฝนฟ้าคะนอง  พายุฟ้าคะนองนี้บางครั้งเรียก พายุไฟฟ้า (electrical storm) โดยทั่วไปเป็นพายุที่เกิดเฉพาะท้องถิ่น เกิดจากเมฆคิวมูโลนิมบัส มีฟ้าแลบ (lightning) กับฟ้าร้อง (thunder) รวมอยู่ด้วย นอกจากนั้นมักจะมีลมกระโชกแรง (strong gust) และฝนตกหนัก (heavy rain) เกิดขึ้น บางครั้งยังมีลูกเห็บ (hail) ตกลงมาด้วย พายุฟ้าคะนองนี้เป็นพายุที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาอันสั้น มีน้อยครั้งที่เกิดขึ้นนานกว่า 2 ชั่วโมง

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Topography  ลักษณะภูมิประเทศ  ลักษณะภูมิประเทศ สภาพทั่ว ๆ ไป ของผิวโลก ซึ่งประกอบด้วยสิ่งที่เป็นอยู่ตามธรรมชาติและที่มนุษย์ดัดแปลงขึ้น อันได้แก่ความสูงต่ำของผิวโลก ทางน้ำและแหล่งน้ำ ถนน เมือง เป็นต้น สิ่งที่อยู่บนผิวโลกแต่ละอย่าง เป็นต้นว่า ภูเขา หรือหุบเขา ก็เรียกว่า ลักษณะภูมิประเทศ

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Toxic waste  ขยะพิษ  ของเสียอันตราย หมายถึง สารหรือวัตถุที่ไม่ใช้หรือใช้ไม่ได้ที่มีส่วนประกอบหรือเจือปนด้วยสารไวไฟ สารกัดกร่อน สารพิษ สารที่สามารถชะล้างได้ สารกัมมันตรังสี และ/หรือสิ่งที่ทำให้เกิดโรค ซึ่งเกิดจากกิจกรรมต่างๆ เช่น อุตสาหกรรม ชุมชน เกษตรกรรม (การให้คำนิยามของสำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาตินี้อาจอิงมาจาก นิยามของสหรัฐอเมริกา)

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Transfer station  สถานีขนถ่ายขยะมูลฝอย  ระบบสถานีขนถ่ายขยะมูลฝอย ระบบลำเลียงมูลฝอย เหมาะสำหรับบ่อฝังกลบมูลฝอยที่อยู่ห่างไกลจากสถานที่จัดเก็บหรือการรวมเป็น ศูนย์กำจัดมูลฝอย ซึ่งต้องมีการลำเลียงมูลฝอยจากหลาย ๆ แห่งมารวมกัน ดังนั้นการอัดมูลฝอยให้แน่นเพื่อลดขนาดลง จึงเป็นหัวใจของระบบนี้ ทั้งนี้เพื่อลดค่าใช้จ่ายของการขนส่ง

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Toxic Substance  วัตถุมีพิษ

 

 

 Toxic Vapour  ไอพิษ  แก๊สหรือไอที่มีสมบัติเป็นพิษอย่างร้ายแรง 

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Tropical Evergreen Forest  ป่าดิบเมืองร้อน  ป่าดิบเมืองร้อน เป็นป่าไม่ผลัดใบ เป็นป่าที่อยู่ในเขตที่มีมรสุมพัดผ่านอยู่เกือบตลอดทั้งปี มีปริมาณน้ำฝนมาก ดินมีความชื้นอยู่ตลอดเวลา ขึ้นอยู่ทั้งในที่ราบและที่เป็นภูเขาสูง มีกระจายอยู่ทั่วไปตั้งแต่ภาคเหนือไปถึงภาคใต้ ป่าดิบเมืองร้อนจะเกิดขึ้นได้ต้องมีสภาพภูมิอากาศ ค่อนข้างชื้นและฝนตกชุก ได้รับอิทธิพลของลมมรสุมอย่างมาก แบ่งย่อยตามสภาพความชุ่มชื้นและความสูงต่ำของภูมิประเทศ

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Thermal Spring  บ่อน้ำร้อน  เป็นน้ำพุที่พุ่งขึ้นมาบนพื้นดินมีระดับอุณหภูมิสูง เกิดจากการที่น้ำ ใต้ดินไหลไปสัมผัสกับหินเปลือกโลกที่มีอุณหภูมิสูง บางแห่งร้อนจัดจนมีควันพวยพุ่งออกมาด้วย เนื่องจากปกติเปลือกโลกที่มีอุณหภูมิสูงทุก 1 องศาเซลเซียส ทุกระยะความลึก 30 เมตร น้ำที่ไหลลงไปลึกๆ แล้วพุ่งสู่พื้นดินอย่างรวดเร็วตามแรงดัน ทำให้ไม่มีโอกาสเย็นตัว จึงกลายเป็นน้ำพุร้อน น้ำพุร้อนมักมีแร่ธาตุต่างๆ ปะปนอยู่มากมาย เช่น ซิลิกา แคลเซียมคาร์บอเนต และกำมะถัน 

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Ultraviolet Radiation  การแผ่รังสีอัลตราไวโอเลต  รังสีอัลตราไวโอเลต เป็นส่วนหนึ่งของรังสีดวงอาทิตย์ที่ส่องถึงพื้นโลก รังสีดวง อาทิตย์ (Solar Radiation) เป็นพลังงานในรูปคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่แผ่รังสีออกจากดวงอาทิตย์ ประกอบด้วยสเปคตรัม ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 แถบกว้างๆ

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
Water footprint   รอยเท้าน้ำ  ตัวชี้วัดการใช้น้ำทั้งทางตรงและทางอ้อมของผู้บริโภคหรือผู้ผลิตรายหนึ่งๆ ในชีวิตประจำวันทุกกิจกรรมที่เราทำล้วนใช้น้ำทั้งสิ้น

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Waste Source  แหล่งกำเนิดของเสีย  ขยะเป็นสิ่งที่เหลือใช้ หรือสิ่งที่ไม่ต้องการอีกต่อไป สามารถแบ่งตามแหล่งกำเนิด สามารถแบ่งตามแหล่งกำเนิด 
1.ของเสียจากอุตสาหกรรม
2.ของเสียจากโรงพยาบาลและสถานที่ศึกษาวิจัย
3.ของเสียจากภาคเกษตรกรรม
4.ของเสียจากบ้านเรือนแหล่งชุมชน 
เป็นต้น

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Wind speed  ความเร็วลม  การเคลื่อนไหวของอากาศ ถ้าลมแรง ก็หมายถึงว่า มวลของอากาศเคลื่อนตัวไปมากและเร็ว

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Weathering  การผุพังยุกับที่  การที่หินผุพังทำลายลงด้วยกรรมวิธีต่างๆ จากลมฟ้าอากาศกับน้ำฝน รวมทั้งการกระทำของต้นไม้กับแบคทีเรียตลอดจนการแตกตัวทางกลศาสตร์ มีการเพิ่ม-ลดอุณหภูมิสลับกัน เป็นต้น สาเหตุของการผุพังอยู่กับที่ ได้แก่ ความร้อน ความเย็น น้ำ น้ำแข็ง แก็สออกซิเจนและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศ

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Watershed Management  การจัดการลุ่มน้ำ  การจัดการพื้นที่เพื่อให้ได้มีปริมาณมากพอ คุณภาพดีการ. ไหลสม่ำเสมอ พร้อมทั้งควบคุมเสถียรภาพของดิน

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Water Resource  ทรัพยากรลุ่มน้ำ  หน่วย พื้นที่หนึ่งที่ประกอบด้วยทรัพยากรกายภาพ ทรัพยากรชีวภาพ ทรัพยากรที่มนุษย์สร้างขึ้น (คุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์) และทรัพยากรคุณภาพชีวิต (สังคมสิ่งแวดล้อม) ระบบลุ่มน้ำประกอบด้วยทรัพยากรเหล่านี้อยู่รวมกันคละกันอย่างกลมกลืนจนมี เอกลักษณ์และพฤติกรรมร่วมกัน เป็นลุ่มน้ำที่มีลักษณะและแสดงบทบาทเฉพาะ จึงมักเรียกลุ่มน้ำเป็นทรัพยากรลุ่มน้ำ หรือระบบทรัพยากร 

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 World Environment Day  วันสิ่งแวดล้อมโลก

 

 

 Waste air  อากาศเสีย  ภาวะอากาศที่มีสารเจือปนอยู่ในปริมาณที่สูงกว่าระดับปกติเป็นเวลา นานพอที่จะทำให้เกิดอันตรายแก่มนุษย์ สัตว์ พืช หรือทรัพย์สินต่าง ๆ อาจเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ฝุ่นละอองจากลมพายุ ภูเขาไฟระเบิด แผ่นดินไหว ไฟไหม้ป่า ก๊าซธรรมชาติอากาศเสียที่เกิดขึ้น โดยธรรมชาติเป็นอันตรายต่อมนุษย์น้อยมาก เพราะแหล่งกำเนิดอยู่ไกลและปริมาณที่เข้าสู่สภาพ แวดล้อมของมนุษย์และสัตว์มีน้อย กรณีที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ได้แก่ มลพิษจากท่อไอเสีย ของรถยนต์จากโรงงานอุตสาหกรรมจากขบวนการผลิตจากกิจกรรมด้านการเกษตรจากการระเหย ของก๊าซบางชนิด ซึ่งเกิดจากขยะมูลฝอยและของเสีย

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Waste water  น้ำเสีย  น้ำที่มีสารใด ๆ หรือสิ่งปฏิกูลที่ไม่พึงปรารถนาปนอยู่ การปนเปื้อนของสิ่งสกปรกเหล่านี้ จะทำให้ คุณสมบัติของน้ำเปลี่ยนแปลงไปจนอยู่ในสภาพที่ไม่สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้ สิ่งปนเปื้อนที่อยู่ในน้ำเสีย ได้แก่ 
น้ำมัน ไขมัน ผงซักฟอก สบู่ ยาฆ่าแมลง สารอินทรีย์ที่ทำให้เกิดการเน่าเหม็นและเชื้อโรคต่าง ๆ 

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Water Requirement  ความต้องการน้ำของพื้นที่เพาะปลูก  ความต้องการน้ำของพื้นที่เพาะปลูก : ปริมาณน้ำทั้งหมดที่ส่งให้พื้นที่เพาะปลูกในช่วงเวลาที่กำหนด

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Waterborne diseases  เป็นโรคหรือความเจ็บป่วยที่มีน้ำเป็นสื่อในการแพร่กระจาย  โรคหรือความเจ็บป่วยที่มีน้ำเป็นสื่อใน การแพร่กระจาย เกิดจากการดื่มน้ำที่ปนเปื้อนด้วยเชื้อโรคประเภทต่าง ๆ ตลอดจนสารเคมี โลหะหนัก รวมทั้งการปรุงอาหารโดยใช้น้ำไม่สะอาดที่ปนเปื้อนด้วยเชื้อโรคและสารเหล่า นี้ มักจะเป็นอาการอุจจาระร่วงทีเดจากเชื้อโรคจำนวนมาก และอาการป่วยด้วยโรคอื่น ๆ คือ บิด ไทฟอยด์ ตับอักเสบ และพยาธิชนิด

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Waste Water Treatment  การบำบัดน้ำเสียน้ำเสีย  โรงบำบัดน้ำเสียเป็นสถานที่รวบรวมน้ำเสียจากบ้านเรือน แหล่งพาณิชยกรรม อุตสาหกรรม และสถาบัน เข้าสู่กระบวนการบำบัดแบบต่าง ๆ เพื่อกำจัดมลสารที่อยู่ในน้ำเสีย ให้มีคุณภาพดีขึ้น และไม่ก่อให้เกิดผลเสียหายต่อแม่น้ำ ลำคลอง แหล่งน้ำธรรมชาติ หรือสิ่งแวดล้อม โดยรอบ โดยน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้วจะถูกระบายลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ หรือบางส่วน ยังสามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ ในด้านการ เกษตร อุตสาหกรรม และอื่นๆ

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Wetland  พื้นที่ชุ่มน้ำ  ลักษณะทางภูมิประเทศที่มีรูปแบบเป็น พื้นที่ลุ่ม พื้นที่ราบลุ่ม พื้นที่ลุ่มชื้นแฉะ พื้นที่ฉ่ำน้ำ มีน้ำท่วม มีน้ำขัง พื้นที่พรุ พื้นที่แหล่งน้ำ ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้น ทั้งที่มีน้ำขังหรือท่วมอยู่ถาวรและชั่วครั้งชั่วคราว ทั้งที่เป็นแหล่งน้ำนิ่งและน้ำทั้งที่เป็นน้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเค็ม รวมไปถึงพื้นที่ชายฝั่งทะเล และพื้นที่ของทะเล ในบริเวณซึ่งเมื่อน้ำลดลงต่ำสุดมีความลึกของระดับน้ำไม่เกิน 6 เมตร

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Water Cycle  วัฏจักรของน้ำ  วัฏจักรของน้ำ (water cycle) หรือชื่อในทางวิทยาศาสตร์ว่า วัฏจักรของอุทกวิทยา (hydrologic cycle) หมายถึงการเปลี่ยนแปลงสถานะของน้ำระหว่าง ของเหลว ของแข็ง และ ก๊าซ. ในวัฏจักรของน้ำนี้ น้ำจะมีการเปลี่ยนแปลงสถานะไปกลับ จากสถานะหนึ่งไปยังอีกสถานะหนึ่ง อย่างต่อเนื่อง ไม่มีสิ้นสุด ภายในอาณาจักรของน้ำ (hydrosphere) เช่น การเปลี่ยนแปลงระหว่าง ชั้นบรรยากาศ น้ำพื้นผิวดิน ผิวน้ำ น้ำใต้ดิน และ พืช. กระบวนการเปลี่ยนแปลงนี้ สามารถแยกได้เป็น 4 ประเภทคือ การระเหยเป็นไอ (evaporation) , หยาดน้ำฟ้า (precipitation) , การซึม (infiltration) , และ การเกิดน้ำท่า (runoff).

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา
 Wildlife Sanctuary  เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า  คนกล่าวถึงป่าอนุรักษ์กันมากโดยเฉพาะในช่วงที่มีการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติป่าชุมชน แต่ส่วนใหญ่มักจะคิดว่าป่าอนุรักษ์มีเพียง อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า หรือพื้นที่ต้นน้ำลำธาร ซึ่งความจริงแล้ว ป่าอนุรักษ์ตามความหมายที่กรมป่าไม้กำหนดนั้นหมายถึง ป่าที่รัฐได้กำหนดไว้เพื่อการแนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม อันได้แก่ ดิน น้ำ ป่าไม้ พันธุ์พืช และพันธุ์สัตว์ ซึ่งมีความหมายมากกว่าที่กล่าวถึงข้างต้น 
พื้นที่ป่าเพื่อการอนุรักษ์นั้นตามที่กรมป่าไม้กำหนด แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. ป่าอนุรักษ์ตามกฎหมาย อันได้แก่ อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ป่า 
2. ป่าเพื่อการอนุรักษ์ตามมติคณะรัฐมนตรี เป็นป่าที่คณะรัฐมนตรีกำหนดให้เป็นพื้นที่ต้นน้ำชั้น 1 ป่าชายเลนเขตอนุรักษ์ และป่าที่คณะรัฐมนตรีกำหนดให้เป็นป่าอนุรักษ์เพิ่มเติม 
3. ป่าเพื่อการอนุรักษ์ตามนโยบาย ได้แก่ พื้นที่ป่าที่กรมป่าไม้จัดให้เป็น วนอุทยานแห่งชาติ สวนรุกขชาติ สวนพฤษศาสตร์ เป็นต้น


ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Zooplankton  แพลงก์ตอนสัตว์

 

 

 Zero waste  แนวคิดสำหรับของเสียเหลือศูนย์  แนวคิดสำหรับของเสียเหลือศูนย์หรือ Zero waste เป็นปรัชญาที่ส่งเสริมการหมุนเวียนทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่เพื่อเป็นการใช้ ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และเป็นการลดปริมาณของเสียที่เกิดขึ้นให้น้อยที่สุดโดยใช้หลักการของ 3Rs (Reduce,Reuse & Recycle) รวมทั้งการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้เกือบทั้งหมด เพื่อเป็นการลดปริมาณของเสียที่ส่งไปกำจัดโดยวิธีการฝังกลบและ/หรือเตาเผา ทำลายให้มีปริมาณน้อยที่สุดเนื่องจากในปัจจุบันมีข้อจำกัดด้านพื้นที่สำหรับ กำจัดของเสียและวิธีการควบคุมมลพิษด้านกลิ่นและไอระเหยที่ต้องมีค่าใช้จ่าย การลงทุนที่ค่อนข้างสูง ทั้งนี้ทรัพยากรควรมีการหมุนเวียนใช้เป็นแบบระบบปิด(Closed-loop system) สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ดังแสดงในรูปของผังไดอะแกรมการบริโภคทรัพยากรแบบ ยั่งยืน

ที่มา : คลิกเพื่อดูแหล่งที่มา 
 Zero of Aeration  เขตอิ่มตัวอากาศ

 

 

 Zero Discharge

 

การไม่ปล่อยของเสีย, ของเสียเป็นศูนย์

 

 

Credit : http://www.environnet.in.th

Visitors: 634,180